ความเดิมตอนที่แล้วที่เจ๊หลีเคยนำรูปฟักทองลูกแรกที่เจ๊หลีแกะสลักไว้
มาให้เพื่อน ๆ ได้ดู มาคราวนี้เจ๊หลีจะมาพูดถึงวิธีการแกะสลักโดยใช้
ภาพนิ่งประกอบให้ดูกันเป็น step กันไปค่ะ
ต้องบอกก่อนนะคะ ว่าเจ๊หลีไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการแกะสลักผักผลไม้
แต่ความที่ชอบเรียนรู้ แถมลงมือทำโดยไม่กลัวความไม่สำเร็จ
แก ะ ๆ ๆ ฝึกมาเรื่อยเปื่อย ก็มาเป็นฟักทองแกะสลักได้เหมือนกันค่ะ
เจ๊หลีคิดว่าจะเรียนรู้เพื่อสืบสานต่อไปเรื่อย ๆ หากมีเวลานะคะ
วันนี้เจ๊หลีจึงนำขั้นตอนมาแบ่งปันเพื่อน ๆ เผื่อเพื่อนคนไหนสนใจ
ตามเจ๊หลีมาเลยนะคะ
ก่อนเราจะเริ่มแกะสลัก เรามาเตรียมอุปกรณ์กันเลยดีกว่านะคะ
เริ่มจากฟักทองขนาดตามใจชอบ ไม่ควรมี่ร่องลึก
เลือกผิวแบบหนังจรเข้ ขรุ ๆ ขระ ๆ จะได้ฟักทองที่แก่ซักหน่อย
จากนั้นก็ต่อด้วยมีดแกะสลักค่ะ
มีดแกะสลัก ควรเป็นมีดเล่มบาง ๆ น้ำหนักเบา
หากฝึกหัดควรใช้แบบราคาถูก ลองดูก่อนค่ะฝึกให้ได้ที่แล้วค่อยซื้อ
มาสะสมตามชอบแล้วกันนะคะ
หรือใครอยากได้ซื้อไว้เลยฝึกามือให้คุ้นกับมีดทีเดียวเลยก็ได้ค่ะ
อ้อลืมไปค่ะ มีดแกะสลักกับมีดคว้านไม่เหมือนกันนะคะ
ปลายมีดควรรักษาให้เแหลม อย่าให้หล่นพื้นบิดเบี้ยวนนะคะ
ปอกเปลือกฟักทองออกให้หมด
จากนั้นเกลาผิวให้เกลี้ยงที่สุด
ใช้มีดแกะสลักตั้งมีด 45 องศาค่ะ ขยับมีดไปรอบ ๆ เพื่อเปิดเป็นฝา
ใช้ช้อนด้ามสั้นตักไส้ในออกให้หมด
จากนั้นตั้งมีด 90 องศา กรีดไปรอบ ๆ ห่างจากขอบปาก ประมาณ 2 ซม
ลึกประมาณ 1/2 ซม.
ตั้งมีด 45 องศา เซาะเพื่อให้เกิดร่องโดยรอบ
นำส่วนที่ไม่ต้องการออก จะเกิดเป็นร่องโดยรอบ
จักร่องเบา ๆ เป็นรอบฟักทองโดยรอบ
ระยะห่างเท่า ๆ กัน ทำทั้งหมด 32 ช่อง
ตั้งมีด 90 องศาวาดมีดเป็น สามเหลี่ยมดังภาพค่ะ
จากนั้นวางมีดตะแคง 45 องศา เซาะร่องที้งสองข้างของสามเหลี่ยม
นำส่วนเกินออก
ส่วนการเซาะร่องด้านในให้ทำเช่นนี้ค่ะ
ตะแคงมีด 45 องศา เป็นรูปสามเหลี่ยมตรงกลางดังภาพค่ะ
จะได้ออกมาเช่นนี้นะคะ
ส่วนการจับมีด ให้จับแบบเราเขียนปากกาค่ะ
แล้วใช้ นิ้วนางหรือ นิ้วก้อย ค้ำยันไว้ ดูรูปภาพด้านล่างประกอบนะคะ
เมื่อเราแกะสลักเสร็จ รู้สึกว่าฟักทองจะเริ่มเหี่ยว ให้เรานำฟักทอง
ไปแช่น้ำสักครู่ใหญ่ แล้วเอาขึ้น ความสดก็จะคืนกลับมากค่ะเช่นนี้เลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น