วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก




อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก






          งานศิลปะดั้งเดิมของไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างหลายแขนง มีดแกะสลักมีมากมายหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้แกะสลักเอง มีดแกะสลักถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากของงานแกะสลัก อาจจะกล่าวได้ว่ามีมีดเพียงเล่มเดียวก็สามารถแกะสลักได้ทุกแบบ ทุกลวดลาย           การเลือกมีดแกะสลัก
       1. มีดจะต้องมีความคม ใบมีดที่บางจะสามารถแกะสลักลวดลายได้ละเอียดและไม่มีรอยช้ำที่เกิดจากรอยมีด
       2. น้ำหนักของด้ามมีดจะต้องมีความเบา เพื่อไม่ให้เกิดการอ่อนล้า
       3. ปลายมีดจะต้องมีความเหยียดตรงไม่มีรอยบิ่น และควรมีปลอก หรือซองสำหรับเก็บมีกเพื่อป้องกันปลายมีด
      4. ใบมีดควรเลือกที่ไม่เป็นสนิมง่ายเพราะจะดูแลรักษายาก และไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค
          การปอก คว้านและการแกะสลักผลไม้ นั้นนอกจากจะต้องทราบกระบวนการต่างๆ ในการแกะสลักแล้ว หัวใจที่มีความสำคัญต่อการแกะสลัก นั้นก็คือมีดแกะสลักที่มีเพียงเล่มเดียวสามารถแกะสลักลวดลายได้ทุกลวดลาย มีดแกะสลักในปัจจุบันมี 2 ลักษณะ ดังนี้

     1. มีดแกะสลักที่มีด้ามแบน
- มีลักษณะใบมีดเรียวแหลมยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ใบมีดมักจะเป็นเนื้อสแตนเลสอย่างดีเพื่อมิให้เกิดปฏิกิริยากับผักและผลไม้ มีดด้ามแบนเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกฝนการแกะสลัก เพราะสามารถควบคุมมีดได้ง่าย



     2. มีดแกะสลักที่มีด้ามกลม
- มีลักษณะใบมีดเรียวแหลมยาวประมาณ 1.5 – 2.5 นิ้ว ใบมีดมีทั้งเนื้อสแตนเลส และเนื้อเหล็ก จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน มีดด้ามกลมเหมาะสำหรับผู้ที่แกะสลักได้แล้ว เพราะสามารถควบคุมมีดให้ไปตามทิศทางต่างๆ



      จับมีดแกะสลัก
      วิธีการจับมีดแกะสลัก ที่ถูกต้องจะทำให้นำไปไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมและการความรวดเร็วในการทำงาน รวมทั้งผลงานที่จะมีความสวยงาม ปลอดภัยจากอุบัติเหตุได้อีกด้วย การจับมีดแกะสลักมีวิธีการจับอยู่ 3 แบบ คือ

     1. การจับมีดแกะสลักแบบหั่นผัก เหมาะสำหรับการแกะสลักวัสดุที่มีขนาดใหญ่ เช่นแตงโม ลักษณะลวดลายการแกะสลักจะเป็นลวดลายที่มีขนาดใหญ่ วิธีการจับมีดแบบหั่นผัก ลักษณะด้ามมีดจะอยู่ใต้อุ้งมือ มีวิธีการจับดังนี้
- นิ้วหัวแม่มือจะอยู่ด้านข้างมีด ตรงระหว่างด้ามมีดและใบมีด
- นิ้วชี้จับตรงสันมีด ตรงกึ่งกลางของใบมีด
- นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกำด้ามมีด
วิธีการแกะสลักโดยการจับมีดแบบหั่นผัก - มือซ้ายจับวัสดุที่จะแกะสลัก
- มือขวาจับมีดแบบหั่นผัก และต้องให้นิ้วนางสัมผัสวัสดุที่แกะสลักเพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักมือและจะทำ ให้ช่วยลดอุบัติเหตุที่เกดขึ้น

     2. การจับมีดแกะสลักแบบจับปากกา
เหมาะสำหรับการแกะสลักลวดลายได้อย่างอิสระ นิยมใช้แกะสลักโดยทั่วไป วิธีการจับมีดแบบจับปากกา ลักษณะด้ามมีดจะอยู่เหนือฝ่ามือมีอิสระในการแกะสลักลวดลาย มีวิธีการจับดังนี้
- นิ้วหัวแม่มือจะอยู่ด้านข้างมีด ตรงระหว่างด้ามมีดและใบมีด
- นิ้วชี้จับตรงสันมีด ตรงกึ่งกลางของใบมีด
- นิ้วกลางจะอยู่ด้านข้างมีด ตรงระหว่างด้ามมีดและใบมีด และตรงข้ามกับนิ้วหัวแม่มือ
- นิ้วนาง นิ้วก้อยไม่สัมผัสมีด วิธีการแกะสลักโดยการจับมีดแบบหั่นผัก
- มือซ้ายจับวัสดุที่จะแกะสลัก
- มือขวาจับมีดแบบหั่นผัก และต้องให้นิ้วนางสัมผัสวัสดุที่แกะสลักเพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักมือและจะทำ ให้ช่วยลดอุบัติเหตุที่เกดขึ้น

     3. การจับมีดแกะสลักแบบปอกผลไม้
เหมาะสำหรับการปอก การเกลารูปร่าง รูปทรงต่างๆ วิธีการจับมีดแบบปอกผลไม้ ลักษณะด้ามมีดจะอยู่ใต้อุ้งมือ นิ้วชี้จะเป็นตัวกำหนดทิศ ทางของการเคลื่อนมีด มีวิธีการจับดังนี้
- นิ้วหัวแม่มือจะอยู่ด้านข้างมีด ตรงระหว่างด้ามมีด ใบมีดและสันมีด
- นิ้วชี้จับด้านข้างมีด ตรงระหว่างใบมีดและด้ามมีด
- นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกำด้ามมีด วิธีการแกะสลักโดยการจับมีดแบบปอกผลไม้
- มือซ้ายจับวัสดุที่จะแกะสลัก
- มือขวาจับมีดแบบปอกผลไม้ และให้นิ้วชี้ช่วยควบคุมการเคลื่อนของมีดและช่วยควบคุมน้ำหนักมือ จะทำให้ช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

     การแกะสลักลวดลายต่างๆ โดยทั่วไปมักจะจับมีดแบบการจับดินสอ หรือปากกา อาจจะกล่าวได้ว่า การแกะสลักนั้นเหมือนกับการเขียนหนังสือ ที่สามารถลากดินสอ หรือปากกาไปในทิศทางต่างๆได้ตามที่ต้องการ

     อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการแกะสลัก ผักผลไม้ 
การปอก คว้านและการแกะสลักผักและผลไม้ มีอุปกรณ์ที่ใช้ในแกะสลักสามารถหาได้ไม่ยุ่งยากนัก มีคุณสมบัติ หน้าที่และลักษณะที่เหมาะสมดังนี้

   1. มีดตัดและหั่น ใช้สำหรับ ตัด หั่นและเกลาผักและผลไม้
- ควรมีความคม และมีดหั่นควรมีความยาวของใบมีด 5-7 นิ้ว


   2. มีดคว้าน ใช้คว้านเมล็ดผลไม้ออก
- ควรมีความคม ควรเลือกที่ทำจากสแตนเลส


   3. มีดปอก ใช้สำหรับปอกเปลือกผักและผลไม้
- ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับผักและผลไม้ที่จะใช้


   4. ที่ตักผลไม้ทรงกลม ใช้สำหรับตักผักหรือผลไม้ให้เป็นทรงกลม
- ช้อนกลมใช้สำหรับควักไส้ผักและผลไม้ ควรเลือกที่ทำจากสแตนเลส


   5. ที่ตัดแบบหยัก ใช้ตักและหั่นผัก ผลไม้ให้เป็นลวดลายสวยงาม
- ควรเลือกให้เหมาะกับผักและผลไม้ มีความคมและควรเลือกที่ทำจากสแตนเลส


   6. พิมพ์กดรูปต่างๆ ใช้กดผัก ผลไม้ให้มีรูปแบบตามต้องการ
- ควรเลือกให้มีความคมและควรเลือกที่ทำจากสแตนเลส


   7. กรรไกร ใช้ตัดและตกแต่งผักผลไม้ที่สลัก
- ควรเลือกให้เหมาะกับผักและผลไม้ มีความคมและควรเลือกที่ทำจากสแตนเลส




   8. หินลับมีดหรือกระดาษทราย ใช้สำหรับลับมีดให้มีความคม
- ควรเลือกเนื้อละเอียดๆ เพื่อจะได้ไม่ทำให้มีดสึกกร่อนเร็ว

   9. เขียง ใช้สำหรับรอง เวลาหั่น ตัดผักและผลไม้
- ควรเลือกเขียงไม้หรือเขียงพลาสติก ที่มีขนาดเหมาะสมในการใช้งานและมีน้ำหนักเบา




   10. อ่างน้ำ ใช้สำหรับใส่น้ำเพื่อแช่ผักและผลไม้ที่แกะสลักแล้ว ให้สดขึ้น
- ควรเลือกให้เหมาะกับปริมาณผักและผลไม้ที่จะแช่




   11. ถาด ใช้สำหรับรองเศษผักและผลไม้เวลาแกะสลัก
- ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดของผักหรือผลไม้ที่แกะสลัก


   12. ผ้าเช็ดมือ ใช้สำหรับเช็ดมือและอุปกรณ์ต่างๆในการแกะสลัก
- ควรเลือกที่ซับน้ำได้ดี อาจเป็นผ้าขาวบางหรือผ้าขนหนูผืนเล็ก



   13. พลาสติกห่ออาหาร ใช้สำหรับห่อผักและผลไม้ เพื่อไม่ให้ผักและผลไม้เหี่ยวเฉาเมื่อแกะสลักเสร็จ
- ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับผักและผลไม้ที่แกะสลัก


14. ถุงมือยาง ใช้สำหรับสวมมือเพื่อเพิ่มความสะอาดเวลาหยิบจับผักและผลไม้ในการแกะสลัก
- ควรเลือกแบบที่กระชับ แนบเนื้อ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น